6396 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี
จากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีตองเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดหลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
วัตถุประสงค์ของการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย
1.เพื่อบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงินได้ ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในคราวเดียวกันเป็นเงินจำนวนมาก
2.เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ อันก่อให้เกิดสภาพคล่องและลดภาวะการเงินตึงตัวในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
3.เพื่อลดแรงกดดันในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร และลดภาระหน้าที่ในการตรวจสอบภาษีหรือการติดตามจัดเก็บภาษีในภายหลัง
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
บุคคลธรรมดา
ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เงินได้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินได้ที่บุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเป็นผู้รับ ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ที่กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้
1.เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
2.เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และประณีตศิลปกรรม
3.เงินได้จากการรับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
4.เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งฯ เฉพาะประเภทที่กำหนดไว้ ดังนี้
- เงินรางวัลในการประกวด แข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
- เงินได้จากการเป็นนักแสดง สาธารณะ
- เงินได้จากการรับโฆษณา
- เงินได้จากการรับจ้างทำของ
- เงินได้จากการให้บริการอื่นๆ
- เงินรางวัล ส่วนลด หรือ ประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
- เงินได้จากค่าขนส่ง
เงินได้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินได้ที่บุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเป็นผู้รับ ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้
1. เงินได้จากการขายสินค้าพืชผล การเกษตร (บางประเภท) ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ย ตั๋วเงิน เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรหรือประโยชน์ อื่นใด เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จากค่าจ้างทำของเงินได้จาก การประกวด แข่งขัน ชิงโชค หรือการอื่น อันมี ลักษณะทำนองเดียวกันเงินได้จากค่าโฆษณา
2. เงินได้ตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวตาม ข้อ 1
3. เงินได้จากค่าเบี้ยประกัน วินาศภัย เฉพาะที่จ่ายให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย
4. เงินได้ค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึง การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ
ข้อสังเกต : จำนวนเงินได้ขั้นต่ำที่ต้องหักภาษี สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป