9765 จำนวนผู้เข้าชม |
EP.5 งบประมาณเพื่อการวางแผน และ การทำกำไร
ข้อแตกต่างของการจัดทำงบประมาณเงินสดกับงบกระแสเงินสด
งบกระแสเงินสด
ประโยชน์ของข้อมูลกระแสเงินสด
1.การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ
2.โครงสร้างการเงินของกิจการ
3.ความสามารถของกิจการในการจัดการเกี่ยวกับจำนวนและจังหวะเวลาของกระแสเงินสด
เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และโอกาส
ประโยชน์ในการประเมิน
1.ความสามารถของกิจการในการก่อให้เกิดเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด
2.ทำให้งบการเงินสามารถนำไปประเมินและเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด
ในอนาคตของกิจการที่ต่างกัน
3.ข้อมูลในอดีตของกระแสเงินสด มักใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงจำนวนเงิน
จังหวะเวลาและความแน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคต
4.ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการประเมินกระแสเงินสดในอนาคตที่ได้จัดทำในอดีต
ประโยชน์ของงบกระแสเงินสด
1.ช่วยให้มองเห็นกระแสเงินสดรับและจ่ายที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม
- ดำเนินงาน > สภาพคล่องจากการดำเนินงาน
- ลงทุน > การเติบโตของกำไรในอนาคต
- จัดหาเงิน > การพึ่งพิงเงินทุนจากภายนอก
2.ข้อมูลเหล่านี้จะไม่สามารถมองเห็นได้จากงบแสดงฐานะทางการเงินและงบกำไรขาดทุน
3.ช่วยให้สามารถคาดการณ์เกี่ยวกับกระแสรับและจ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
4.ใช้ตรวจสอบความมีเหตุผลของสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำประมาณการกระแสเงินสด
ที่ได้จัดทำขึ้นในอดีต
หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำที่ถูกต้อง
งบกระแสเงินสดต้องแสดงกระแสเงินสดในระหว่างรอบระยะเวลา โดยจำแนกเป็นกระแสเงินสด
- กิจกรรมดำเนินงาน
- กิจกรรมลงทุน
- กิจกรรมจัดหาเงิน
ในลักษณะที่เหมาะสมกับธุรกิจของกิจการมากที่สุด การจำแนกตามกิจกรรมจะให้ข้อมูลที่
ทำให้ผู้ใช้งบกระเงินสามารถประเมินผลกระทบของกิจกรรมเหล่านั้นที่มีต่อฐานะการเงินของ
กิจการ และจำนวนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการได้ข้อมูลนี้ยังอาจใช้
เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมเหล่านั้นได้ด้วย
งบประมาณเงินสด
ความสำคัญ
จัดทำเพื่อวางแผนการจัดการเงินสดและสภาพคล่อง โดยจะสรุปกระแสเงินสดเข้าทั้งหมด
เปรียบเทียบกับกระแสเงินสดจ่าย หากเงินสดเข้ามากกว่าออกก็จะไม่มีปัญหาคลาดแคลน
เงินสดหมุนเวียน แต่หากเงินสดจ่ายมากกว่าเข้าจะทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
เนื่องจากไม่มีเงินสดใช้จ่ายรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างงวด
ประโยชน์ของงบประมาณเงินสด
1.เป็นแผนงานทางการเงินที่แสดงรายละเอียดของกิจการจัดหาและใช้เงินในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานในอนาคตและควบคุมการดำเนินงานในปัจจุบัน
2.เปรียบเสมือนการทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และเป็นเครื่องมือทางการเงินที่
ฝ่ายบริหารใช้วางแผนและควบคุม
3.เป็นเอกสารภายในธุรกิจ จะไม่นำเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งการจัดทำงบประมาณ
อาจทำได้หลายรอบ ระยะเวลาแต่นโยบายผู้บริหารของแต่ละกิจการจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์
ที่จะนำงบประมาณนั้นไปใช้
4.เป็นเครื่องมือในการจัดการเงินสด แสดงเงินสดรับ - จ่าย ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับ
ความจำเป็นและลักษณะธุรกิจ
5.ทำให้รู้ล่วงหน้าเมื่อมีเงินสดขาดมือและเมื่อมีเงินสดเหลือ ทำให้สามารถวางแผนจัดหา
หรือนำไปลงทุนสร้างผลตอบแทนได้อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนในการทำงบประมาณเงินสด
การประมาณการเงินสดรับ
- รวบรวมรายการที่เป็นแหล่งเงินสดรับทั้งหมด จากข้อมูลในอดีต
- จัดระเบียบรายการให้เป็นหมวดหมู่ อาจพิจารณาจาก
- รายการที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ
- รายการที่มีการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
- รายการที่มีฐานในการประมาณได้จากรายการอื่นที่เกิดขึ้นก่อนแล้ว
- รายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
- รายการเบ็ดเตล็ด
- รายการที่ต้องมีการประมาณ โดยมีฐานจากข้อมูลอื่นอาจทำรายการไว้ต่างหาก
- บันทึกข้อมูลประมาณการเงินสดรับในกระดาษทำการ
- รวมยอดประมาณการเงินสดรับเฉพาะงวดนั้น ๆ ไว้
การกำหนดเป้าหมายเงินสดขั้นต่ำที่ต้องการให้มี
การประมาณการเงินสดจ่าย
- ทำเช่นเดียวกันกับการประมาณเงินสดรับ
- การประมาณการเงินสดจ่ายบางรายการ อาจต้องทำรายละเอียดไว้ต่างหาก
เช่น การทำงบประมาณเงินลงทุน
- รวมยอดประมาณการเงินสดจ่ายเฉพาะงวดนั้น ๆ
การพิจารณาผลที่เกิดขึ้นเพื่อการหาลงทุน หรือหาแหล่งเงินทุนระยะสั้น
หรือการหาแหล่งเงินทุนระยะยาว
วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบประมาณเงินสด
- เพื่อวางแผนล่วงหน้าในอนาคต
- เพื่อมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประมวลผลดำเนินงาน
- เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมดำเนินงานและการวางแผนกำไร
- เพื่อเป็นสื่อกลางในการประสานงานของแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน