28970 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กับ รายจ่ายต้องห้าม
รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
รายจ่ายต้องห้าม หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคล แต่ในทางภาษีไม่ให้ถือ
เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามมาตรา 65 ทวิ มีดังนี้
(1) รายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษีต้องนำมาบวกกลับ
เพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
(2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็น
ค่าเสื่อมราคา
(3) การตีราคาทรัพย์สิน ราคาทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากราคาสินค้าคงเหลือ ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อ
ทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ ห้ามมิให้นำราคาที่ตีเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิส่วน
ทรัพย์สินรายการใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการ
คำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์วิธืการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคา
ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลาและมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สิน
นั้นเท่านั้น
(4) การโอนทรัพย์สิน ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ
หรือ ดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(5) การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ เงินตรา
ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะ
เวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น
(6) การตีราคาสินค้าคงเหลือ ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณตาม
ราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่าและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมา
สำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย
(7) การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ประเมินมีอำนาจประเมิน โดย
เทียบเคียงกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันที่ส่งเข้าไปในประเทศอื่นได้
(8) การคำนวณราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่าง
ประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้รับสินค้านั้นมา
(9) การจำหน่ายหนี้สูญ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้สามารถกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลัก
เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกระทรวง ฉบับที่ 186(พ.ศ.2534) แต่เมื่อมีการรับชำระหนี้ใน
รอบระยะเวลาบัญชีใดให้นำมาเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็น
รายได้แล้วหากได้รับชำระในภายหลังก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก
(10) การคำนวณเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไร ให้ถือเป็นรายได้ ดังนี้
- เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย(แต่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ได้รับยกเว้นกึ่งหนึ่ง
- เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นทั้งหมด
- เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แต่ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออก
เสียงในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทผู้จ่ายปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทผู้รับเงินปันผล
ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ได้รับยกเว้นทั้งหมด
(11) ดอกเบี้ยกู้ยืม ที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกว่า
(12) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร ที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามกฎหมายดังกล่าว
และหากผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้นำบัญญัติข้อ (10)
มาใช้ บังคับโดยอนุโลม (ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้กึ่งหนึ่ง
แต่หากเป็น บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือเป็นบริษัทที่
ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทผู้จ่าย
เงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทผู้รับเงินปันผลว่าทางตรงหรือทางอ้อม ให้ได้รับยกเว้นทั้งหมดด้วย)
(13) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ไม่ต้องนำค่าลงทะเบียน หรือค่าบำรุงที่ได้รับจาก
สมาชิก เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค หรือจากการให้โดยเสน่หา แล้วแต่กรณี มารวม
คำนวณเป็นรายได้
(14) ภาษีขาย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับคืน
จากการขอคืน ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ (เนื่องจากภาระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นของผู้บริโภค
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเพียงคนกลางที่รับ
ภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วส่งต่อให้รัฐบาลผ่านกรมสรรพากรเท่านั้น มิได้ถือเป็นรายได้ของกิจการแต่อย่างใด)
เงื่อนไขเกี่ยวกับรายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
ตามมาตรา 65 ตรี มีดังนี้
(1) เงินสำรองต่าง ๆ เป็นรายจ่ายต้องห้าม นอกจากเงินสำรอง ดังต่อไปนี้
(1.1) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัย เพื่อสมทบทุนประกันชีวิต
(1.2) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร
เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับ ในรอบระยะเวลาบัญชี
หลังจากหักเบี้ยประกันภัย ซึ่งเอาประกันต่อออกแล้วถือเป็นรายจ่ายได้
(1.3) เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้ที่เกิดจาก
การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนบริษัทหลักทรัพย์ หรือ
เครดิตฟองซิเอร์ ให้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคาพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วย
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ แต่กรณีเฉพาะส่วนที่ตั้ง
เพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฏในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
เงินสำรองที่ตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่งและได้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือ
ขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใดตอมาหากมีการต้องสำรองประเภทดังกล่าว
ลดลง ให้นำเงินสำรองส่วนที่ตั้งลดลงซึ่งได้ถือเป็นรายจ่ายไปแล้วนั้น มารวมคำนวณเป็น
รายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น
(2) เงินที่จ่ายเข้ากองทุนใด ๆ เป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่ เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงิน
สบทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ถือเป็นรายจ่ายได้
(3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล เป็นรายจ่ายต้องห้าม
เว้นแต่ราย จ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือการสาธารณประโยชน์ ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของ
กำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หมายถึง รายจ่ายที่แต่ละคนจะรับภาระในส่วนของตนเป็น
การส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยผู้รับไม่มีความผูกพันในทางธุรกิจการงานกับ
ผู้ให้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายไปโดยความรักใคร่ชอบพอกัน
เป็นการส่วนตัว ซึ่งผู้รับไม่มีความผูกพันว่าจะต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตอบแทน หรือเรียกว่า
การให้เปล่า
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการกุศล หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายไปในการทำบุญทำทาน บริจาคทรัพย์สิน
ช่วยการศึกษา การศาสนา การสังคมสงเคราะห์หรือการอื่น ๆ แต่กรณีกฎหมายยังยอมให้หักได้ในกรณี
เป็นการจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณธ หรือเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดว่าเป็นใคร
(4) ค่ารับรอง เว้นแต่ ค่ารับรองดังต่อไปนี้สามารถนำมาจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ หลักเกฑ์ว่า
ก. ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุ
ทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ข. ค่ารับรองหรือค่าบริการต้อง
1. เป็นรายจ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ
เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร
2. เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท
ค. จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้อง
ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมหรือคำนวณกำไรสุทธิ
ง. ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจาก
บุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือมีคำสั่งจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นด้วย และต้องมีใบหลักฐานของ
ผู้รับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการ
(5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดี
ขึ้นซึ่งทรัพย์สินเป็นรายจ่ายต้องห้ามแต่หากเป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายในการ
คำนวณกำไรสุทธิได้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์ต่อกิจการเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบญชี
รายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ทรัพย์สินดีขึ้น หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้
อายุการใช้งานของทรัพย์สินเดิมยาวนานขึ้น หรือมีสภาพดีขึ้น
(6) เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญาภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็น
รายจ่ายต้องห้าม
คำว่า “เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา” หมายถึง เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม
และค่าปรับอาญา ตามกฎหมายภาษีอากรทุกประเภท รวมถึงค่าปรับที่เป็นโทษทางอาญา และเงินเพิ่ม
ภาษีอากรตามกฎหมายอื่นด้วย
ภาษีซื้อต้องห้ามบางลักษณะที่กำหนดไว้ในมาตรา 82/5 (4) และ (6) แห่งประมวลรัษฎากร นำมาเป็น
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถนำไปเครดิตภาษีได้ ซึ่งเป็นภาระ
แก่ผู้เสียภาษี อาทิ
1. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่ออันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
2. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
3. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
4. ภาษีที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง
6. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ที่คำว่า “ใบกำกับภาษี” ไม่ได้ถูกตีพิมพ์ หรือไม่ได้จัดท
คอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
7. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้
ด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
8. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (copy)
9. ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
10.ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการ เนื่องจากกิจการประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษี
มูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
11.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งรายการต่าง ๆ ได้ถูกแก้ไขหรือถูกเปลี่ยนแปลงเป็นภาษี
ซื้อต้องห้าม
12.ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่
เกิน10 คน และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครองได้มีการดัดแปลงรถยนต์
ดัง กล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
13.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบ
กำกับภาษีไม่ได้พิมพ์ขึ้นหรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วย
ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
(7) การถอนโดยปราศจากค่าตอบแทน เป็นการถอนเงินลงทุนหรือเป็นการแบ่งกำไรกัน ไม่เกี่ยวข้องกับ
การบันทึกรายจ่ายของกิจการแต่อย่างใด
(8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นผู้ถือหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรเป็นรายจ่ายต้องห้าม
(9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หมายความถึง รายจ่ายใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลได้กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง โดยไม่ได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นการ
ตอบแทน
(10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สิน ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เองเป็นรายจ่าย
ต้องห้าม
(11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเองถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
(12) ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน กรณีความเสียหายนั้นมีทางที่จะได้รับการชดใช้ตามสัญญา
แต่ถ้าได้รับค่าชดใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือก็ลงเป็นรายจ่ายได้
(13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
(14) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
รายจ่ายที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้าม
จะต้องเป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่ารายจ่ายดังกล่าว เป็นรายจ่ายไป โดยเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
1.รายจ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการของสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นนั้นเกี่ยวกับ
กิจการของสาขาในประเทศไทย
2.รายจ่ายที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนา โดยสาขาในประเทศไทยจะต้องได้รับบริการหรือได้นำผล
การค้นคว้าและพัฒนามาใช้ประโยชน์ของสาขาในประเทศไทยตามความเป็นจริง
3.รายจ่ายใดถ้าสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นได้นำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของ
สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นแล้ส จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยอีกไม่ได้
4.รายจ่ายที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นเรียกเก็บมายังสาขาในประเทศไทยจะต้องมีเกณฑ์และวิธี
การเป็นที่รับรองทั่วไป และต้องถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสาขาในประเทศอื่น ๆ และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าวข้างต้นที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยได้
จะต้องมีหลักฐานหรือหนังสือรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
(15) ค่าซื้อทรัพย์สิน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
(16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไป เนื่องจากกิจการที่ทำถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น
การทำเหมืองแร่ หรือการทำป่าไม้ มูลค่าหรือการตีราคาของจำนวนสินแร่หรือจำนวนไม้นั้นถือมาเป็น
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
(17) ค่าของทรัพย์สิน เพราะการที่กิจการจะตีราคาทรัพย์สินลดลงโดยยังไม่มีการขายทรัพย์สินจริง ๆ
นั้น รายการผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินลดลงย่อมเป็นรายการที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง
(18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น กรณีที่ไม่มีหลักฐานที่
เป็นค่าใช้จ่ายของการรับจ้าง
(19) รายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้ เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้วถือเป็นรายจ่าย