32462 จำนวนผู้เข้าชม |
รู้ไหม ? รายจ่ายอะไร ถือเป็นรายจ่าย “ค่ารับรอง”
ค่ารับรองใดที่ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ?
1.เป็นค่ารับรองตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป
2.บุคคลซึ่งได้รับการรับรองต้องมิใช่ลูกจ้าง พนักงาน กรรมการหรือผู้จัดการของกิจการ เว้นแต่มีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองนั้นด้วย
3.ต้องมีกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง และต้องมีหลักฐานการจ่ายประกอบ
4.เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับค่ารับรอง เช่น ค่าอาหารเครื่องดื่ม ที่พัก พาหนะ ฯลฯ
5.เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการที่อาจมีผลตอบแทนเกิดขึ้นในอนาคตที่ต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นประโยชน์จริง
มูลค่าของค่ารับรอง
1.ถ้าให้เป็นสิ่งของต้องไม่เกิน คนละ 2,000 บาท (รวมภาษีซื้อ) หากเกินจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
2.ค่ารับรองรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้ ยอดขายเงินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งแล้วแต่ว่าอันไหนจะมากกว่า แต่ต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท (รายได้ที่จะนำมาเป็นฐานคำนวณต้องเป็นรายได้ทางภาษี)
ขั้นตอนการวางแผนค่ารับรอง
1.ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงิน
2.ต้องระบุว่ามีการพาบุคคลภายนอก (ที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยประโยชน์ต่อกิจการ) ไปรับรองด้วย เช่น การระบุชื่อ ที่อยู่ ใบสำคัญจ่าย ฯลฯ
3.ต้องพิสูจน์ว่าบุคคลภายนอกที่พาไปนั้นเกี่ยวข้องกับกิจการ หรือเอื้อประโยชน์ต่อกิจการอย่างไร
การบันทึกค่ารับรอง
ตัวอย่าง
บริษัท xx จำกัด จ่ายเงินค่าเลี้ยงรับรองลูกค้า เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวนเงิน 10,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 700 บาท
Dr.ค่ารับรอง (รวมภาษีซื้อ) 10,700
Cr.เงินสด/ธนาคาร 10,700