การจัดทำงบประมาณ Budgeting

57813 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การจัดทำงบประมาณ Budgeting

การจัดทำงบประมาณ



 Budgeting

-          คือ การวางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลข เช่น ในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงทำงาน, จำนวนสินค้าที่ขาย ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ในอนาคต เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ

 7 ประโยชน์/ขั้นตอน/ปัญหา

การจัดทำงบประมาณเหมาะสำหรับธุรกิจที่กำลังเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก

การจัดทำงบประมาณจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมการขายและค่าใช้จ่าย

ได้ง่ายขึ้นโดยผ่านตัวเลขทางบัญชีและการเงิน

                นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำไรของกิจการด้วย

การจัดทำงบประมาณมักจัดทำไปพร้อมกับการจัดทำแผนงานประจำปี

ซึ่งผู้จัดทำต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์ของบริษัท,เป้าหมายทั้งระยะสั้น

และระยะยาวของบริษัท

                การจัดทำแผนงบประมาณจะประกอบไปด้วยแผนต่าง ๆ เช่น แผนตลาด

แผนผลิต แผนการจัดการ แผนบุคลากร แผนการเงินและบัญชี ธุรกิจที่มี

การวางแผนตามกลยุทธ์ โดยติดตามจากตัวเลขของงบประมาณที่ตั้งไว้นั่นเอง

เพราะการวางแผนจะบอกว่าปีหน้าจะขายเพิ่มขึ้นอีกเท่าดะ

 

 งบประมาณการของธุรกิจขนาดใหญ่ &

ขนาดกลางจะนิยมทำขึ้น 2 ประเภท

1. งบประมาณดำเนินการ (Operating Budget)

   ประกอบไปด้วยงบประมาณดังนี้

                - งบประมาณการขาย

                - งบประมาณการผลิต

                                 - งบประมาณการใช้วัตถุดิบ

                                 - งบประมาณแรงงาน

                                 - งบประมาณค่าใช้จ่ายโรงงาน

                - งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย

                - งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร

 

 

2. งบประมาณการเงิน (Financial Budget)

- งบประมาณเงินสด

- งบประมาณกำไรขาดทุน

- งบประมาณการงบดุล

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องทำงบประมาณการทุกงบตามด้านบน

อาจเลือกทำงบประมาณที่มีความสำคัญต่อกิจการตนเอง เช่น งบประมาณการขาย

งบประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณกำไรขาดทุน การจัดทำงบประมาณควรให้

ฝ่ายบัญชีเป็นผู้รวบรวมตัวเลขจากฝ่ายต่าง ๆ เพื่อนำมาออกเป็นงบประมาณ

 

 7 ขั้นตอน การจัดทำงบประมาณการ

1. นำข้อมูลการขาย ค่าใช้จ่ายในอดีตมาวิเคราะห์  เพื่อดูแนวโน้มธุรกิจและสภาพเศรษฐกิจโดยรวม

2. ดูความพร้อมของทรัพยากรวัตถุดิบ คน เครื่องจักร เงินทุน

3. เจ้าของกิจการ, ผู้บริหาร, ผู้จัดการฝ่าย ร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ และเป้าหมาย

   ในการดำเนินงานว่าจะเพิ่มยอดขาย หรือเพิ่มผลิตภัณฑ์ เพิ่มสาขา เพิ่มตลาดฯลฯ

4. เริ่มจัดทำงบประมาณให้เป็นไปตามแผนโดยมีการตั้งข้อสมมติฐาน

   ในการจัดงบประมาณการตามแผนที่วางไว้ คือการประมาณการรายได้

   จากการขาย รายจ่ายจากต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายการขายและการบริหารและ

   ความต้องการเงินที่ต้องลงทุนเพิ่ม

5. แผนกหรือฝ่ายแต่ละฝ่ายส่งงบประมาณของฝ่ายตนเองมาให้ฝ่ายบัญชีและการเงิน

   รวบรวมเพื่อออกมาเป็นงบประมาณกำไรขาดทุน และงบประมาณการงบดุล

6. เมื่อจัดทำงบประมาณเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำเสนอให้ที่ประชุมและผู้บริหารอนุมัติ

   เพื่อใช้เป็นแผนพิมพ์เขียวในการใช้ดำเนินธุรกิจในปีถัดไป

7. งบประมาณการควรมีการจัดทำขึ้นแบบมีรายละเอียดทุกเดือนเพื่อให้ผู้บริหาร

   ติดตามได้และมีการสรุปเป็นรายไตรมาส เพื่อแก้ไขได้ทันหากไม่เป็นตามแผน

 

 7 ปัญหาในการจัดทำงบประมาณมีดังนี้

   1. แผนธุรกิจกำหนดเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน

   2. กำลังคน อุปกรณ์และเครื่องใช้ไม่สมดุลกับงานตามงบประมาณที่ตั้งไว้

   3. การประมาณการทั้งรายได้และรายจ่ายที่ไม่เหมาะสม ตั้งยอดขายไว้สูงเกินไป

   4. มีการคำนวณค่าใช้จ่ายไม่ครอบคลุมสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ขาดทุนได้

   5. แบบฟอร์มที่ใช้ในการจัดทำงบประมาณนั้นยากเกินไปในการกรอกข้อมูล

   6. ไม่มีข้อมูลในอดีตและไม่ได้วิเคราะห์สถานการณ์ให้ดี

   7. ขาดการศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของเงินที่ลงทุนเพิ่ม

 

 

 7 ประโยชน์ ของการทำงบประมาณ

1. ทำให้จัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ

2. ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทำให้ทราบรายได้ และค่าใช้จ่ายได้อย่างทันเวลา ยืดหยุ่น

4. ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงาน ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง

5. เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดทิศทางและเป้าหมายองค์กร

6. เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

7. เป็นเครื่องมือในการวางแผน ควบคุม และประเมินผลการดำเนินงานของกิจการทั้งองค์กร และฝ่ายต่าง ๆ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้